ยินดีต้อนรับสู่ ภาควิชาฟิสิกส์ 

 รายวิชาที่เปิดสอนภาคการศึกษาที่  ฤดูร้อน/2563

KM@Physics

การหารด้วย 3
เรียบเรียงโดย  อาจารย์ชัพกิตติ์  ชาญสมร
วันที่ 17 ธันวาคม 2563
ในการแบ่ง ที่นั่งสอบห้องละ 3 วิชา เราจะเห็นว่าตัวเลขที่นั่งสอบ มีไม่เกิน 3 หลัก เช่น 4, 73, 148 ถ้าตัวเลขนี้หาร 3 แล้วเหลือเศษเท่ากันหมายความว่าเขาสอบวิชาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เลขที่นั่งสอบ 42 กับ141สอบวิชาเดียวกัน กรณีนี้ยากกว่าที่เคยแบ่งนั่งสอบห้องละ 2 วิชา ที่เราแค่ดูว่าเป็นวิชาเลขคู่หรือวิชาเลขคู่ก็พอแล้ว .......
อ่านต่อ

KM@Physics

Van de Graaff Generator
เรียบเรียงโดย  อาจารย์ศุภกัลย์  วัฒนการุณ
วันที่ 20 สิงหาคม 2563
Van de Graaff Generator เริ่มถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1930 โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน Robert J. Van de Graaff จุดประสงค์เพื่องานวิจัยด้านการเร่งอนุภาค  ในปี ค.ศ.1933 เขาได้พัฒนา Van de Graaff Generator จนสามารถสร้างความต่างศักย์ไฟฟ้าได้สูงถึง 5 ล้านโวลต์ โดยเครื่องนี้มีความสูงถึง 40 ฟุต ปัจจุบันถูกแสดงไว้ที่ Museum of Science, Boston .......
อ่านต่อ

KM@Physics

การแก้ปัญหาของวัตถุการกลิ้ง
เรียบเรียงโดย  อาจารย์ภรวัฏ ธนกิติวิรุฬ
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563

จากรูป เป็นการกลิ้งโดยไม่ไถลของวัตถุทรงกลมตันมวล M มีรัศมี R  บนพื้นเอียงลื่น ที่มีความสูง H และทำมุม q กับแนวระดับ โดยวัตถุทรงกลมตันนี้เริ่มกลิ้งจากหยุดนิ่ง ที่ความสูง H หากเราต้องการจะหาค่าความเร็วของวัตถุทรงกลมตันเมื่อกลิ้งลงถึงขอบด้านล่างของพื้นเอียง ว่ามีค่าเท่าไร เราสามารถหาความเร็วของวัตถุนี้ที่ขอบด้านล่างของพื้นเอียงโดยใช้ กฎการอนุรักษ์พลังงาน กับพลังงานศักย์ที่สะสมอยู่ในทรงกลม.......
อ่านต่อ

KM@Physics

ชนิดของประจุอิสระจากการขัดถู
เรียบเรียงโดย  อาจารย์ศุภกัลย์  วัฒนการุณ
วันที่ 30 มกราคม 2563

ปกติแล้ววัตถุใดๆ จะเป็นกลางทางไฟฟ้า คือมีปริมาณประจุบวก (โปรตอน) และประจุลบ (อิเล็กตรอน) ในปริมาณที่เท่ากัน จึงไม่แสดงอำนาจทางไฟฟ้า เมื่อให้พลังงานกับวัตถุจะทำให้อิเล็กตรอนเกิดการเคลื่อนที่ ส่งผลให้ปริมาณประจุบวกและประจุลบไม่เท่ากัน วัตถุที่มีรับประจุลบเข้ามาจะแสดงอำนาจไฟฟ้าเป็นลบ ส่วนวัตถุที่มีสูญเสียประจุลบจะแสดงอำนาจไฟฟ้าเป็นบวก ซึ่งอำนาจทางไฟฟ้าจะมากหรือน้อยจะขึ้นกับผลต่างของจำนวนประจุบวกกับประจุลบ  เรียกว่าประจุอิสร .......
อ่านต่อ

KM@Physics

สเปกตรัมของแสง​
เรียบเรียงโดย  อาจารย์ศุภกัลย์  วัฒนการุณ
วันที่ 15 มกราคม 2563

สสารเมื่อได้รับความร้อนจะปลดปล่อยแสงออกมาโดยอาจมีหลายสีรวมกัน ซึ่งขึ้นกับการเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนในแต่ละอะตอม สเปกโตรมิเตอร์ (spectrometer) จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดมุมของแต่ละแสงสีที่ได้จากการกระจายของแสงผ่านปริซึม (prism) หรือจากการเลี้ยวเบนของแสงผ่านเกรตติง (grating) โดยข้อมูลเหล่านี้เรียกว่าสเปกตรัมเส้นสว่าง (bright line spectrum) ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญมากในการวิเคราะห์สสารต่าง ๆ เช่นวิเคราะห์โครงสร้างอะตอม วิเคราะห์อะตอมที่ประกอบเป็นโมเลกุล หรือพิจารณาอะตอมบนดวงดาวที่อยู่ห่างไกลหลายล้านปีแสงได้ .......
อ่านต่อ

KM@Physics

การขยายความละเอียดเชิงพื้นที่ของตัวตรวจจับ LiDAR ในการตรวจสภาพพื้นผิวถนน ด้วยวิธีการประมาณค่าในช่วงโดยอาศัยความคล้ายคลึงของสี
เรียบเรียงโดย อาจารย์ภรวัฎ ธนกิติวิรุฬ
​วันที่ 20 สิงหาคม 2562


ในการสำรวจสภาพของพื้นผิวถนนที่ถูกทำลาย เช่นการสำรวจหาพื้นผิวที่มีการยุบตัว หรือรอยแตกบนถนน ภาพถ่ายพื้นถนนทั่วไป จะบอกได้เพียงความกว้างหรือตำแหน่งของผิวถนนที่ถูกทำลาย หรือบางที่อาจระบุไม่ได้ เนื่องจากบริเวณพื้นผิวที่ถูกทำลายมีสีที่คล้ายคลึงกับบริเวณผิวถนนที่มีสภาพดี การใช้ LiDAR จะทำให้มองเห็นความแตกต่างของพื้นผิวถนนได้ แต่เมื่อนำข้อมูล LiDAR ที่ได้จากการสำรวจพื้นผิวของถนนมาประกอบสร้างเป็นรูปภาพพื้นผิวถนน ในลักษณะของ แบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลขหรือ Digital Elevation Model(DEM) เพื่อทำการวิเคราะห์ พบว่าภาพที่ได้จะมีความละเอียดเชิงพื้นที่ต่ำมาก ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะของพื้นผิวถนนเป็นไปได้ยาก .... อ่านต่อ 

KM@physics

การใช้หลอดแบล็คไลท์ตรวจร่องรอยของโรคกลากในสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก
เรียบเรียงโดย  อาจารย์ชัพกิตติ์ ชาญสมร
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

โรคกลากมีชื่อภาษาอังกฤษว่า ring worm ตามลักษณะที่เห็นบนผิวหนังว่าเป็นขอบนูนเป็นวง ๆ ทั้งที่จริงแล้วกลากเกิดจากเชื้อราไม่ใช่หนอนตามคำว่า worm สักหน่อย กลากในแมวสามารถติดต่อมาถึงมนุษย์ได้ง่ายด้วย การสัมผัสดังนั้นผู้เรียกตนเองว่า "ทาสแมว" บางท่านจะติดกลากจากแมวได้ง่ายถ้าไม่อาบน้ำทำความสะอาดให้แมว ยาที่ใช้รักษากลากนั้นมีอยู่ทั้งที่ใช้กับคนและแมว แต่ประเด็นของเราคือการนำเสนอเครื่องมือที่ช่วยดูว่าแมวที่เห็นว่าปกติดีนั้นติดเชื้อกลากมาแล้วหรือไม่ อีกประการคือแมวที่เป็นกลากแล้วนั้นกลากเกิดการลุกลามไปที่อื่นที่ยังไม่เห็นด้วยตาเปล่าหรือยัง.. ..​​อ่านต่อ...

KM@physics

เรียนไปเล่นไป ได้ทั้งความรู้และความสนุก
เรียบเรียงโดย  ดร.สมพงษ์  เลี่ยงโรคาพาธ
วันที่ 30 กันยายน 2561

ตามนโยบายของทางมหาวิทยาลัย ที่ต้องการให้การเรียนการสอนของรายวิชาต่างๆมีการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น Active Learning, Problem-based Learning หรือ Project-based Learning ตามแต่ความเหมาะสมในแต่ละรายวิชา เพื่อให้การเรียนในห้องมีความน่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ฝึกคิดประยุกต์จากทฤษฎี และเพิ่มทักษะปฏิบัติให้มากขึ้น ในภาคการศึกษา 1/2561 ทางภาควิชาฟิสิกส์มีการจัดการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ 1 และปฏิบัติการฟิสิกส์ 1 จึงได้จัดกิจกรรมการแข่งขันขึ้น ในหัวข้อ “Slow Roll”. .​อ่านต่อ...

 บทความ

การควบคุมการแพร่ขยายอาวุธทำลายล้างสูงผ่านมาตรการควบคุมการส่งออกสินค้าของประเทศไทย

​เรียบเรียงโดย ดร.สมพงษ์  เลี่ยงโรคาพาธ 
วันที่ 23 ธันวาคม 2559

ความพยายามพัฒนาขีดความสามารถของอาวุธจากประเทศต่ดรางๆทั้งจากประเทศที่อยู่ในภูมิภาคที่มีความขัดแย้งรุนแรงรวมถึงกลุ่มก่อการร้ายมีเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางและก้าวกระโดด มีการพัฒนาอาวุธที่มีขีดทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruction [WMD])  ขึ้นมากกว่าที่ผ่านมา จึงมีความพยายามในการจำกัดขีดความสามารถในการพัฒนาอาวุธดังกล่าวให้อยู่ในประเทศพัฒนาแล้วเพียงไม่กี่ประเทศ .....​​อ่านต่อ...